วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

โคมไฟจาก กะลามะพร้าว

คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการบริหารจัดการในห้องเรียน รหัสวิชา 30111706  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องโคมไฟกะลามะพร้าวประหยัดพลังงาน ซึ่งคณะผู้จัดทำได้จัดทำเพื่อครู นักเรียน  และผู้ที่สนใจได้ใช้เป็นเอกสารอ่านเพิ่มเติมต่อไป
      คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจเรื่องโคมไฟกะลามะพร้าวประหยัดพลังงาน ซึ่งทำให้ทราบถึง การใช้กะลามะพร้าวมาใช้ทำประโยชน์ ที่ได้วิเคราะห์ให้ผู้อ่านนำมาใช้ประโยชน์ได้
ต่อไป หากมีข้อบกพร่องประการใด ผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ
บทที่1
บทนำ
1 ความเป็นมาของโครงการ
โคมไฟ เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับอ่านหนังสือ แต่ปัจจุบันคนไทยนิยมบางคนนำโคมไฟมา เป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้านซึ่งโคมไฟจะมีรูปที่แต่งต่างกันออกไปตามแต่วัสดุที่นำมาประดิษฐ์ การผลิตโคมไฟสามารถใช้วัสดุได้หลายชนิด เช่น พลาสติก เหล็ก หรืออะลูมิเนียม ซึ่งมักจะมี ราคาแพง แต่ความเป็นจริงแล้วโคมไฟสามารถผลิตจากวัสดุอย่างอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็น กะลามะพร้าว ไม้หรือส่วนประกอบของต้นไม้ เช่น รากไม้ กิ่งไม้ เป็นต้น
เมื่อกล่าวถึงกะลามะพร้าว ซึ่งเป็นส่วนประกอบของมะพร้าว สามารถนำมาประดิษฐ์ เป็นโคมไฟได้ จึงเกิดประกายในการน ากะลามะพร้าวซึ่งมีความสวยงามในด้านความเป็นมัน วาวของตัวมันเองมาใช้ประโยชน์ตรงนี้ โดยการนำความสวยงามในตัวขัดมันของกะลามะพร้าว มาขับแสงไฟให้เกิดความสวยงามมาประดิษฐ์เป็นโคมไฟสวยงาม มาใช้ประโยชน์ตามต้องการ ได้
ดังนั้นการทำโคมไฟก็เป็นงานที่สร้างอาชีพให้กับผู้ที่จุดประกายในด้านนี้ และ มี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นทุนเดิมอยู่แล้วประดิษฐ์โคมไฟจากกะลามะพร้าวมาจำหน่าย ให้กับผู้ที่รักการประดิษฐ์สิ่งของจากธรรมชาติ
2 วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้าอิสระ
1 เพื่อศึกษาขั้นตอนในการทโคมไฟกะลา
2 เพื่อให้เกิดประสบการณ์ในการทโคมไฟกะลา
3 เพื่อนำสิ่งของเหลือใช้มาทำให้เกิดมูลค่า
4 เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5 เพื่อก่อให้เกิดรายได้จากการดำเนินงาน
6 เพื่อให้เกิดประสบการณ์ด้านการขาย และการทำบัญชี
3 สาเหตุและสมมุติฐาน
การตั้งปัญหา
1  โคมไฟกะลามะพร้าวมีประสิทธิภาพ  มากหรือน้อยกว่าโคมไฟในท้องตลาดหรือไม่
2 วัสดุอะไรบ้างที่จะนำมาทำเป็นโคมไฟจากกะลามะพร้าว
การตั้งสมมุติฐาน
1. ถ้าโคมไฟกะลามะพร้าวมีผลต่อการประหยัดพลังงาน  ขึ้นอยู่กับวัตถุของโคมไฟ ชนิดของหลอดไฟ
4 ขอบเขตการศึกษาค้นคว้าอิสระ
การทำโคมไฟกะลา เป็นการพัฒนา มุ่งสร้างผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อสร้างจุดเด่น และเพิ่มมูลค่าของโคมไฟกะลาให้มีราคาสูงขึ้น
5 วิธีดำเนินการ
1 ศึกษาขั้นตอนการทโคมไฟกะลา
2 เสนอโครงการวิชาชีพ
3 ออกแบบผลิตภัณฑ์
4 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์
5 ลงมือปฏิบัติงาน
6. จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์
7 สอบถามความพึงพอใจของลูกค้า
8 จัดทำรายงานโครงการ
9 สอบโครงการวิชาชีพ
6 ประโยชน์ที่ได้รับ
1 ได้โคมไฟที่ประหยัดพลังงาน และได้ใช้จ่ายอย่างประหยัด
2 นำวัสดุเหลือใช้มาเพิ่มมูลค่าและเพิ่มมูลค่าของวัสดุที่มีในท้องถิ่น
3 ฝึกประสบการณ์ในการทำงานของนักศึกษา และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
7 สถานที่ดำเนินงาน
หอผ่องศรี   บ้านเนินสะอาด   ตำบลหนองญาติ   อำเภอเมือง   จังหวัดนครพนม


1.8 แผนการดำเนินการ

ลำดับที่

กิจกรรมที่ต้องดำเนินการหรือปฏิบัติ

วัน/เดือน/ปี
1.
คิดเรื่องที่จะศึกษา
21/มี../2559
2.
วางแผนการปฏิบัติ
21/มี.ค./2559
3.
ศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
21/มี.ค./2559
4.
เขียนเค้าโครงโครงงานที่จะศึกษา
22/มี.ค./2559
5.
วางแผนดำเนินโครงงาน
24/มี.ค./2559
6.
เตรียมอุปกรณ์
24/มี.ค./2559
7.
ประกอบโคมไฟ
25/มี.ค./2559

ทำการทดลอง
25/มี.ค./2559
8.
สรุปและอภิปรายผลการดำเนินโครงงาน
27/มี.ค./2559
9.
จัดทำรูปเล่ม
31/มี.ค./2559

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1.      โคมไฟ
คำอธิบาย: http://www.homepro.co.th/sites/default/files/how-to-choose-light-%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%9F01.jpg




รูปภาพที่ 1 โคมไฟตั้งโต๊ะ
โคมไฟฟ้าทำหน้าที่บังคับทิศทางแสงของหลอดให้ไปในทิศทางที่ต้องการ โคมไฟฟ้ามีใช้กันมากมายหลายชนิดขึ้นอยู่กับการใช้งาน สำหรับโคมไฟฟ้ากับการประหยัดพลังงาน ในที่นี้จะกล่าวถึงโคมไฟฟ้าที่ใช้ภายในอาคาร เพราะมีการนำมาใช้งานกันมาก จำเป็นต้องเลือกโคมไฟฟ้าที่สามารถประหยัดพลังงานและมีคุณภาพที่ดี
นับแต่สมัยโบราณ ยามค่ำคืน ไม่มีแสงสว่างจากไฟฟ้า มีเพียงแต่แสงดาว แสงจันทร์ และคบเพลิง
ซึ่งจากคบเพลิงไม้ ก็ได้นำไปสู่โคมไฟ เพื่อใช้เป็นแสงสว่างยามค่ำคืนโคมไฟถูกสร้างขึ้น น่าจะรับอิทธิพลมาจากประเทศจีน ซึ่งปัจจุบันโคมไฟที่ได้รับความนิยม อันดับต้นๆ เลยก็คือ โคมไฟไม้สัก ซึ่งมีความสวยงาม คงทน แข็งแรง แต่มีความคลาสสิกในตัวของโคมเองลักษณะของดวงโคม
1. ดวงโคมไฟเพดานเป็นดวงโคมไฟที่ติดเหนือศีรษะ บริเวณฝ้าเพดาน หรือห้องลงมาจากเพดาน เช่น โคมไฟห้อยเพดานหรือไฟช่อระย้า ที่มีรูปแบบต่าง ๆ ให้เลือกมากมาย ทั้งที่ทำจากแก้ว พลาสติก โลหะหรือเซรามิค มีทั้งแบบโคมไฟธรรมดา ราคาไม่แพงไปจนถึงโคมไหแชนเดอเลียร์ที่ประกอบไปด้วยหลอดไฟเล็ก ๆ มากมาย สวยงาม ให้แสงสว่างและความร้อนมาก กินไฟมาก ราคาแพง ไฟติดเพดาน มีทั้งแบบดวงโคมที่ยึดติดกับฝ้าเพดาน ประกบอไปด้วยที่ครอบ หรือโป๊ะทำจากแก้วหรือพลาสติกคลุมหลอดไฟเพื่อช่วยในการกระจายแสง เช่น โคมไฟโป๊ะกลมสำหรับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์หรือโคมไฟซาลาเปาสำหรับหลอดไส้ เป็นต้น และแบบที่ติดตั้งโดยเจาะฝ้าเพดานฝังซ่อนดวงโคมไว้ภายใน ที่เราเรียกกันว่า ไฟดาวน์ไลท์ (Down light) ซึ่งให้แสงสว่างได้ดีสามารถเลือกใช้ชนิดของหลอดไห ลักษณะของแสงที่ส่องลงมา และทิศทางการส่องของสำแสงได้หลายแบบเป็นได้ทั้งไฟพื้นฐานและไฟสร้างบรรยากาศ
2. ดวงโคมไฟผนังเป็นชนิดที่ใช้ยึดติดกับผนัง มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบเช่นกันการกระจายแสงส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับลักษณะของโป๊ะ มีทั้งแบบให้แสงส่องออกมาตรง ๆหรือแบบสะท้อนเข้าผนังเพื่อสร้างบรรยากาศให้กับห้อง เป็นต้น
3. ดวงโคมไฟตั้งพื้น ตั้งโต๊ะ เป็นดวงโคมไฟแบบลอยตัวที่ช่วยในการให้แสงสว่างตามจุดต่าง ๆเป็นพิเศษ เช่น ในบริเวณที่นั่งอ่านหนังสือโต๊ะทำงาน หรือโต๊ะหัวเตียงและยังใช้เป็นของประกอบการตกแต่งในห้องชุดร่วมกับชุดเฟอร์นิเจอร์อื่น ๆ อีกด้วย เช่น ชุดรับแขก ชุดทานอาหาร เป็นต้น มีรูปแบบและวัสดุให้เลือกมากมายหลายหลายราคา
4. ลักษณ์โคมไฟจากกะลามะพร้าวมีลักษณ์เดียวกับโคมไฟตั้งพื้น ตั้งโต๊ะแต่สามารถออกแบบได้หลายแบบ
สีสันสามารถทำไดหลายสีแต่ที่นิยมคือสีเนื้อไม้
2.     คำอธิบาย: http://o.lnwfile.com/fnkupc.jpgมะพร้าว




                       
                                           รูปภาพที่ 2 ลูกมะพร้าว
มะพร้าว เป็นพืชยืนต้น ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ผลประกอบด้วยเอพิคาร์ป (epicarp) คือเปลือกนอก ถัดไปข้างในจะเป็นมีโซคาร์ป (mesocarp) หรือใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนเอนโดคาร์ป (endocarp) หรือกะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3 รู สำหรับงอก ถัดจากส่วนเอนโดคาร์ปเข้าไปจะเป็นส่วนเอนโดสเปิร์ม หรือที่เรียกว่าเนื้อมะพร้าว ภายในมะพร้าวจะมีน้ำมะพร้าว ซึ่งเมื่อมะพร้าวแก่ เอนโดสเปิร์มก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะพร้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera L. อยู่ในตระกูล Palmae มีระบบรากเป็นรากฝอยมีขนาดเท่าๆ กัน แผ่กระจายออกรอบต้น
ลำต้น มีลำต้นเดียว ไม่แตกแขนง มีรอยแผลจากการหลุดร่วงของใบตลอดลำต้น สามารถคำนวณอายุของต้นมะพร้าวได้จากรอยแผลนี้ คือ ในปีหนึ่งมะพร้าวจะสร้างใบประมาณ 12- 14 ใบ ดังนั้นใน 1 ปี จะมีรอยแผลที่ลำต้น 12 – 14 รอยแผล
ใบ เป็นใบประกอบ ออกอยู่ตามส่วนของลำต้น ประกอบด้วยก้านทาง ( rechis ) มีขนาดใหญ่และยาว และมีใบย่อย ( leaflet ) บนก้านทางประมาณ 200 – 250 ใบ
ดอก ออกเป็นช่อชนิดพานิเคิล มีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย อยู่ในช่อเดียวกัน ดอกมีกลีบดอก 6 กลีบ สีครีมหรือสีเหลืองนวล ไม่มีก้านดอกย่อยดอกตัวเมียจะมีกลีบดอกหนาและแข็งกว่ากลีบดอกตัวผู้
ผล มะพร้าวเป็นชนิดไฟบรัสดรุป ( fibrous drupe ) เรียกว่า นัท ( nut ) มีเปลือก 3 ชั้นคือ
1. เปลือกชั้นนอก ( exocarp ) เป็นเส้นใยที่เหนียวและแข็ง เมื่อแก่อาจมีสีเขียว แดง เหลืองหรือน้ำตาล
2. เปลือกชั้นกลาง ( mesocarp ) มีลักษณะเป็นเส้นใย มีความหนาพอประมาณ
3. เปลือกชั้นใน ( endocarp ) มีลักษณะแข็งหรือที่เรียกกันว่า กะลา ( shell )
เมล็ด ( seed of kernel ) คือ เนื้อมะพร้าว ภายในเมล็ดเป็นช่อกลวงขณะผลอ่อนจะมีน้ำอยู่เต็ม ผลแก่น้ำมะพร้าวจะแห้งไปบางส่วน
พันธุ์ มะพร้าวเป็นพืชผสมข้ามพันธุ์ แต่ละต้นจึงไม่เป็นพันธุ์แท้ อาศัยหลักทางการผสมพันธุ์ที่เป็นไปโดยธรรมชาติ อาจแบ่งมะพร้าวออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทต้นเตี้ยและประเภทต้นสูง
ประเภทต้นเตี้ย มะพร้าวประเภทนี้ มีการผสมตัวเองค่อนข้างสูง จึงมักให้ผลดกและไม่ค่อยกลายพันธุ์ ส่วนใหญ่นิยมปลูกไว้เพื่อรับประทานผลอ่อน เพราะในขณะที่ผลยังไม่แก่ อายุประมาณ 4 เดือน เนื้อมีลักษณะอ่อนนุ่ม และน้ำมีรสหวาน บางพันธุ์น้ำมีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีกลิ่นหอม
ประเภทต้นสูง ตามปกติมะพร้าวต้นสูงจะผสมข้ามพันธุ์ คือ ในแต่ละช่อดอก (จั่น) หนึ่ง ๆ ดอกตัวผู้จะค่อย ๆ ทยอยบาน และร่วงหล่นไปหมดก่อนที่ดอกตัวเมียในจั่นนั้นจะเริ่มบาน จึงไม่มีโอกาสผสมตัวเอง มะพร้าวประเภทนี้เป็นมะพร้าวเศรษฐกิจส่วนใหญ่ปลูกเป็นสวนอาชีพ เพื่อใช้เนื้อจากผลแก่ไปประกอบอาหาร หรือเพื่อทำมะพร้าวแห้งใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันพืช
การเพาะปลูก
การเตรียมผลพันธุ์ก่อนเพาะ ปาดเปลือกทางด้านหัวออกขนาดประมาณเท่าผลส้มเขียวหวานเพื่อให้น้ำซึมเข้าได้สะดวกใน ระหว่างเพาะ และช่วยให้หน่องอกแทงออกมาได้ง่าย ถ้าเป็นผลที่ยังไม่แก่จัด เปลือกมีสีเขียวปนเหลือง ให้นำไปผึ่งไว้ในที่ร่มโดยวางเรียงให้ รอยปาดอยู่ด้านบน ผึ่งไว้ประมาณ 15-30 วัน จนเปลือกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เตรียมผลพันธุ์ไว้ประมาณ 2 เท่าของจำนวนหน่อที่ต้องการเพราะในขณะเพาะจะมีพันธุ์ที่ไม่ งอกและเมื่องอกแล้วก็ต้องคัดหน่อที่ไม่แข็งแรงออก

การเตรียมแปลงเพาะ แปลงเพาะควรอยู่กลางแจ้ง ใกล้แหล่งน้ำและมีการระบายน้ำดี ไม่เป็นแหล่งที่เคยมีโรคและแมลงระบาดมาก่อน พื้นแปลงควรเป็นทรายหยาบ เพื่อสะดวกในการเพาะและย้ายกล้า ปราบวัชพืชออกให้หมด ถ้าพื้นดินเป็นดินแข็งควรไถดินลึก 15-20 ซม. ถ้าแปลงกว้างมาก ควรแบ่งเป็นแปลงย่อย ขนาดกว้างประมาณ 2.50 เมตร ยาวตามความต้องการ เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50 ซม. ในแต่ละแปลงย่อยขุดเป็นร่องลึกประมาณ 10 ซม. กว้างเท่าขนาดของผลมะพร้าว ยาวตลอด พื้นที่ แต่ละแปลงจะเพาะมะพร้าวได้ 10 แถว
วิธีการเพาะ วางผลมะพร้าวตามแนวนอนลงในร่องที่เตรียมไว้ หันด้านที่ปาดขึ้นข้างบนเรียงไปตามทิศ ทางเดียวกัน ให้แต่ละผลติดกันหรือห่างกันไม่เกิน 5 ซม. กลบทรายหรือดินให้ส่วนของผลมะพร้าวโผล่พ้นผิวดินประมาณ 1/3 ของผล ถ้าฝนไม่ตก รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ โดยสังเกตจากความชื้นตรงบริเวณรอยปาด คอยดูแลกำจัดวัชพืช โรค-แมลงต่าง ๆ
หลังจากเพาะแล้วประมาณ 2-3 สัปดาห์หน่อจะเริ่มงอก ในระยะแรก ๆ จะงอกน้อย เมื่อเลย 4 สัปดาห์ไปแล้วหน่อจะงอกมากขึ้น มะพร้าวที่ไม่งอกภายใน 10 สัปดาห์ หรือ 70 วัน ควรคัดทิ้ง หรือนำไปทำมะพร้าวแห้ง เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้งอกก็จะได้หน่อที่ไม่ดี ตามปกติมะพร้าวจะ งอกประมาณร้อยละ 60 ภายใน 10 สัปดาห์ เมื่อหน่อยาวประมาณ 1-3 นิ้ว ควรย้ายลงแปลงชำ ในการค้าจะไม่ย้ายลงแปลงชำทีละน้อย แต่จะรอย้ายพร้อมกันในคราวเดียว
ในกรณีที่ทำการเพาะมะพร้าวเป็นจำนวนไม่มากนักอาจทำการเพาะโดยไม่ต้องนำลงแปลงชำ ก็ได้ แต่ในการเพาะจะต้องขยายระยะให้กว้างขึ้น โดยวางผลห่างกันประมาณ 45-50 ซม. เพื่อให้หน่อเจริญได้ดี จะได้หน่อที่อ้วนและแข็งแรง เมื่อหน่อมีใบประมาณ 4-6 ใบ ก็คัดไป ปลูกได้
วิธีการชำ เตรียมแปลงชำเช่นเดียวกับแปลงเพาะ แปลงชำควรอยู่ใกล้กับแปลงเพาะ เพื่อสะดวกในการขนย้ายหน่อ ถ้าดินไม่ดีให้ใส่ปุ๋ยคอกไร่ละ 24 ปี๊บ (240 กก.) หว่านให้ทั่วแปลงแล้วไถกลบ ขุดหลุมขนาดเท่าผลมะพร้าว ระยะระหว่างหลุม 60 ซม. อาจวางผังการทำแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า หรือแบบสี่เหลี่ยมจตุรัสก็ได้ ย้ายหน่อมะพร้าวจากแปลงเพาะลงชำในหลุมให้หน่อตั้งตรง กลบดินหนาประมาณ 2/3ของผล เพื่อไม่ให้ดินทับส่วนคอของหน่อพันธุ์ ใช้ทางมะพร้าวหรือหญ้าแห้งคลุมแปลง (อาจใช้วัสดุอื่นก็ได้) เพื่อรักษาความชุ่มชื้น ถ้าฝนไม่ตก รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ
โรคและแมลงในมะพร้าว
แมลงที่เป็นศัตรูพืชกับมะพร้าวคือ ด้วงแรด เป็นแมลงปีกแข็งตัวใหญ่มีสีน้ำตาลเข้ม บนหัวมีนอ เหมือนแรด ตัวแก่กัดกินยอดและใบอ่อนทำให้ด้วงงวงมาวางไข่
สามารถจะป้องกันและกำจัดได้ทั้งในระยะที่เป็นตัวหนอนและตัวเต็มวัย โดยปฏิบัติดังนี้
รักษาสวนให้สะอาด เป็นการทำลายแหล่งวางไข่ เพราะด้วงแรดชอบวางไข่ในกองขยะ กองปุ๋ยหมัก กองเศษไม้ ตอไม้ผุ ฯลฯ ถ้าเห็นใบยอดขาดเป็นริ้วๆแสดงว่าถูกด้วงแรดกัดให้ใช้ตะขอหรือเหล็กแหลมแทง ดึงเอาตัวออกมาทำลาย ใช้สารเคมี เช่น
1. ออลดริน ชนิดน้ำ 5 ช้อนแกง ผสมน้ำ 1 ปี๊บ ราดที่คอมะพร้าวทุก 2 เดือน
2. อโซดริน 3 ช้อนแกง ผสมน้ำ 1 ปี๊บ ราดที่คอมะพร้าวเดือนละครั้ง
3. ออลดริน ชนิดผงคลุกกับขี้เลื่อยในอัตรา 1 ช้อนแกง ต่อขี้เลื่อย 8 กระป๋องนม โรยที่คอมะพร้าวต้นละ 1 กระป๋องนม ทุก 2 เดือน
4. สำหรับต้นมะพร้าวที่มีลำต้นสูงมาก ใช้พวก นูวาครอนหรืออโซดรินฉีดเข้าลำต้น โดยเอาสว่านเจาะลำต้นให้เป็นรูจำนวน 2 รู อยู่ตรงข้ามกัน ใช้เข็มฉีดยาดูดสารเคมี 10 ซีซี ฉีดใส่ในรูที่เจาะไว้ข้างละ 5 ซีซี จะมีฤทธิ์อยู่นานประมาณ 30 วัน วิธีนี้ห้ามเก็บผลมะพร้าวก่อนครบกำหนดหลังจากฉีดสารเคมีแล้ว อย่างน้อย 30 วัน
3.     หลอดไฟฟ้า
คำอธิบาย: https://solarsmileknowledge.files.wordpress.com/2014/05/cfl_energy_efficient_light_bulbs_w.jpg





                                           รูปภาพที่ 3 หลอดไฟฟ้า
หลอดไฟฟ้าที่มีใช้กันอยู่มีหลายชนิดด้วยกัน หลอดแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติทางแสงและทางไฟฟ้าต่างกัน ในการเลือกหลอดเพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ต้องเลือกหลอดที่มีประสิทธิผล (ลูเมนต่อวัตต์) สูง อายุการใช้งานนาน และคุณสมบัติทางแสงของหลอดด้วย แต่งานบางอย่างก็ต้องเลือกใช้หลอดที่ไม่ประหยัดพลังงาน ฉะนั้นการนำหลอดไปใช้งานต้องพิจารณาความเหมาะสมในการนำไปใช้
ค่าคุณสมบัติของหลอดไฟ
1. ค่าฟลักซ์การส่องสว่าง (Luminous Flux) เป็นปริมาณแสงสว่างทั้งหมดที่ได้จากแหล่งกำเนิดแสง มีหน่วยวัดเป็นลูเมน (lm)
2.ค่าความสว่าง (llluminance) เป็นปริมาณแสงสว่างที่ตกกระทบบนวัตถุ (lumen) ต่อ 1 หน่วยพื้นที่ มีหน่วยเป็น lm/sq.m. หรือ lux นั่นเอง โดยทั่วไป อาจเรียกว่า ระดับความสว่าง (Lighting level) จึงเป็นตัวที่บอกว่าแสงที่ได้เพียงพอหรือไม่
3. ค่าความเข้มการส่องสว่าง (Luminous Intensity) เป็นความเข้มของแสงที่ส่องออกมาจากวัตถุ โดยทั่วไปจะวัดเป็นจำนวนเท่าของความเข้มที่ได้จากเทียนไข 1 เล่ม จึงมีหน่วยเป็นแคนเดลา (Candela, cd)
4. ค่าความส่องสว่าง (Luminance) เป็นตัวที่บอกปริมาณแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุ (candela) ต่อ 1 หน่วยพื้นที่ มีหน่วยเป็น cd/sq.m. บางครั้งจึงอาจเรียกว่าความจ้า (Brightness)
5. ค่าประสิทธิผล (Efficacy) เป็นปริมาณแสงสว่างที่ออกมาต่อกำลังไฟฟ้าที่ใช้ (watt) มีหน่วยวัดเป็น lm/w หลอดที่มีค่าประสิทธิผลสูงแสดงว่าหลอดนี้ให้ปริมาณแสงออกมามากแต่ใช้กำลังไฟฟ้าน้อย
6. ค่าความถูกต้องของสี (Colour Rendering, Ra หรือ CRI) เป็นค่าที่ใช้บอกว่าหลอดไฟประเภทต่างๆ เมื่อแสงส่องสีไปบนวัตถุจะทำให้สีของวัตถุนั้นผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด ไม่มีหน่วยแต่มักเรียกเป็น % ตามค่าความถูกต้องค่ะ แสงอาทิตย์มีค่า Ra = 100 เพราะแสงอาทิตย์ให้สเปกตรัมครบทุกสี เมื่อส่องไปบนวัตถุจะไม่เห็นความผิดเพี้ยนของสี
7. ค่าอุณหภูมิสีของแสง (Color Temperatrre TK) สีของแสงที่ได้จากหลอดไฟเทียบกับสีที่เกิดจากการเผาวัตถุดำอุดมคติให้ร้อนที่อุณหภูมินั้น มีหน่วยเป็นเคลวิน (k) อุณหภูมิสีเป็นตัวที่บอกว่าแสงที่ได้มีความขาวมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีค่าอุณหภูมิสีของแสงต่ำแสงที่ได้จะออกมาในโทนเหลืองหรือแดง ถ้ามีค่าอุณหภูมิสีของแสงสูงแสงที่ได้จะออกมาในโทนขาวกว่า ในท้องตลาดทั่วไปมีให้เลือก 3 โทนสี
ข้อควรการเลือกซื้อหลอดไฟฟ้า
1. กำหนดว่าจะใช้หลอดรูปทรงแบบไหน เพื่อกำหนดการใช้งาน ทิศทางการให้แสง และองศาของแสง
2. ขั้วหลอดที่ใช้กับโคมเดิม เป็นแบบไหน เป็นขั้วเกลียว ขั้วเกลียวเล็ก ขั้วเข็ม หรือขั้วเสียบ
3. ต้องมีอุปกรณ์ใดที่ใช้กับหลอดไฟ หรือโคมไฟ เช่น หม้อแปลง บัลลาสต์ สวิสต์หรีไฟ
4. สิ่งสำคัญต่อมา คือ พิจารณาคุณสมบัติของหลอดไฟ เพราะว่าบางครั้งหลอดไฟที่ใช้อยู่นั้นอาจไม่เป็นที่ถูกใจ หรือเหมาะสมกับการใช้งาน ให้แสงที่จ้าเกินไป ให้แสงที่ขาวเกินไปเป็นต้น จุดนี้แหละที่ทำให้ไอเดียอยู่สบายแนะนำค่าคุณสมบัติของหลอดไฟให้เพื่อนๆได้รู้จักกันก่อนตอนต้น เพื่อนๆจะได้เลือกจากข้างกล่องหรือฉลากกำกับผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม
5. และเลือกใช้หลอดไฟที่มีความแม่นยำของแสงของสี ควรเลือกซื้อหลอดไฟที่มีค่าความถูกต้องของสี Ra=80 เป็นต้นไป
6. อายุการใช้งานของหลอดไฟ เลือกหลอดไฟประเภทที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานหน่อย จะได้ไม่ต้องดูแลรักษามาก
7. ราคา ค่าซื้อหลอด ค่าเปลี่ยนและดูแลหลอด ราคามักจะสัมพันธ์กับอายุการใช้งาน อายุการใช้งานยาวนานมักมีราคาค่าหลอดไฟที่แพงกว่า ส่วนที่อายุการใช้งานสั้นก็ต้องเปลี่ยนบ่อย ราคาหลอดถูกกว่าก็จริง แต่อาจจะต้องไปเสียค่ารถ ค่าเสียเวลาในการไปซื้อ หรือซื้อมาตุนนี่ยิ่งแล้วใหญ่ ลองเลือกดูนะคะ แต่แนะนำว่าอย่าเสียน้อยเสียยาก เสียมาเสียง่ายเลย
8. เลือกยี่ห้อที่เป็นที่รู้จัก และได้การรับรองมาตราฐานสินค้า ดูได้จากสัญลักษณ์ที่กำกับข้างกล่องผลิตภัณฑ์
4.     สว่านไฟฟ้า
คำอธิบาย: http://www.thaicarpenter.com/images/catalog_pro_1386812157/sdsdw1.jpg




                                             รูปภาพที่ 4 สว่านไฟฟ้า
สว่าน คือเครื่องมือชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับเจาะรูบนวัสดุหลายประเภท เป็นเครื่องมือที่ใช้บ่อยในงานไม้และงานโลหะ ประกอบด้วยส่วนสำคัญคือดอกสว่านที่หมุนได้
ดอกสว่านยึดอยู่กับเดือยด้านหนึ่งของสว่าน และถูกกดลงไปบนวัสดุที่ต้องการจากนั้นจึงถูกทำให้หมุน ปลายดอกสว่านจะทำงานเป็นตัวตัดเจาะวัสดุ กำจัดเศษวัสดุระหว่างการเจาะ (เช่น ขี้เลื่อย) หรือทำงานเป็นตัวสูบอนุภาคเล็กๆ (เช่นการเจาะน้ำมัน)
สว่านไฟฟ้า ใช้กำลังช่วยขับมอเตอร์หมุนสว่าน  ตัวที่ให้กำลังขับแก่สว่าน  คือมอเตอร์แบบยูนิเวอร์  ซึ่งเป็นมอเตอร์ต่อกับชุดเฟืองซึ่งทดความเร็วของมอเตอร์ลงทำให้สว่านหมุนช้ากว่ามอเตอร์  และเกิดแรงบิดมากขึ้นเพราะรอบที่ช้าลง  สว่านจะมีชุดปรับรอบและทิศทาง  สามารถปรับรอบการหมุนของหัวสว่านได้ตั้งแต่ 10  รอบ ต่อนาที  ถึง 1,000  รอบต่อนาที  แล้วแต่การใช้งานเจาะวัสดุต่าง ๆ กัน  เช่น โลหะ  ไม้ พลาสติก  นอกจากนี้  ยังสามารถต่อกับอุปกรณ์ประกอบ  เพื่อทำงานอย่างอื่น ๆ ได้อีก  เช่น ใช้ต่อกับจานขัด,แผ่นขัดมัน,ล้อเจียระไน  และต่อเป็นไขควงไฟฟ้าก็ได้ด้วย
5.     แลคเกอร์
คำอธิบาย: Lacquer1


      รูปภาพที่ 5 แลคเกอร์สเปรย์เคลือบเงา

แลคเกอร์ หรืออินาเมล (enamel) เป็นของเหลวที่มีส่วนประกอบหลักคือ เรซินของโอลีโอเรซินัส (oleoresinous) หรือ สารประกอบของไวนิล (vinyl) หรืออีพ็อกซี (epoxy) หรือฟินอลิก (phenolic) หรือ พอลิเอสเตอร์ (polyester) และตัวทำละลาย ใช้เคลือบโลหะที่ใช้ทำกระป๋องบรรจุอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน (protective coating) การเปลี่ยนแปลง
สีเคลือบแลคเกอร์นั้นเป็นสีที่เราจะพบเห็นได้มากที่สุด หาซื้อได้ง่าย มีทั้งในแบบที่ต้องเอามาผสมกับทินเนอร์ก่อนใช้และแบบเป็นสีสเปร์ย สีเคลือบแลคเกอร์นั้นมีคุณสมบัติในการ เคลือบ และยึดเกาะชิ้นงานค่อนข้างต่ำ แห้งเร็ว ให้เนื้อสีค่อนข้างน้อย ไม่ค่อยใส กระเทาะง่าย ใช้ไปนานๆ สีจะออกเหลืองๆ ส่วนมากจะใช้ในงานที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว  แต่ไม่เหมาะกับใช้กับชิ้นงานที่ต้องการความเงางาม คงทน  แต่ก็มีมีแลคเกอร์อีกแบบหนึ่งที่มีคุณสมบัติค่อนข้างดี เป็นแลคเกอร์ที่ใช้ในการเคลือบสีรถยนต์ ภาษาช่างเรียกว่าหัวแลคเกอร์ ให้ความแข็งแรงและเงางาม ในระดับที่ดี แต่มีข้อเสียที่มีหายาก ราคาแพง ต้องผสมกับทินเนอร์ของมันโดยเฉพาะ และใช้งานค่อนข้างยาก
6.     กระดาษทราย
คำอธิบาย: http://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2014/07/files1348555817.jpg





                                                รูปภาพที่ 6 กระดาษทราย
กระดาษทราย (อังกฤษ: Sandpaper) คือกระดาษรูปแบบหนึ่งซึ่งมีสารขัดถูติดหรือเคลือบอยู่บนหน้าของกระดาษ ใช้สำหรับขัดพื้นผิวของวัสดุอื่นเพื่อให้วัสดุนั้นเรียบ หรือขัดให้ชั้นพื้นผิวเก่าหลุดออก หรือบางครั้งอาจทำให้พื้นผิวขรุขระมากขึ้นเพื่อเตรียมการติดด้วยกาว เป็นต้น
ประวัติ
กระดาษทรายเริ่มมีใช้ครั้งแรกในประเทศจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 กระดาษทรายในยุคนั้นทำจากเปลือกหอยบดละเอียด เมล็ดพืช และทราย ติดไว้บนหนังสัตว์ด้วยยางธรรมชาติ บางครั้งมีการใช้ผิวของปลาฉลามแทนกระดาษทราย เดิมกระดาษทรายรู้จักกันในชื่อ กระดาษแก้ว เนื่องจากใช้กากของแก้วเป็นส่วนประกอบ (มิใช่กระดาษแก้วในปัจจุบัน)
เกล็ดหยาบบนฟอสซิลของปลาซีลาแคนท์ (Coelacanth) ซึ่งเป็นปลาดึกดำบรรพ์ที่เกือบจะสูญพันธุ์ เคยถูกใช้เป็นกระดาษทรายโดยชนพื้นเมืองในประเทศคอโมโรส
กระดาษทรายถูกผลิตขึ้นด้วยเครื่องจักรเป็นครั้งแรกโดยบริษัทของจอห์น โอคีย์ (John Oakey) ในลอนดอนเมื่อ พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) ซึ่งได้พัฒนาเทคนิคและกระบวนการยึดติดของสารขัดถูสำหรับการผลิตในปริมาณมาก ส่วนกระบวนการผลิตกระดาษทรายด้วยเครื่องจักรได้รับการจดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2377 (ค.ศ. 1834) โดยไอแซก ฟิสเชอร์ จูเนียร์ (Isaac Fischer Jr.) จากเมืองสปริงฟิลด์ รัฐเวอร์มอนต์
ในปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) สามเอ็ม (3M) ได้คิดค้นกระดาษทรายกันน้ำภายใต้ยี่ห้อ Wetordry™ และการใช้งานครั้งแรกนั้นเพื่อตกแต่งการทาสี
7.     กาวร้อน
คำอธิบาย: http://www.manor-grange.com/photo_ads_full/2013_06_18_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E037.jpg




                                                รูปภาพที่ 7 กาวร้อน
        กาว หรือ วัสดุประสาน คือส่วนผสมของของเหลวหรือวัสดุกึ่งของเหลวที่สามารถเชื่อมติด หรือประสานวัสดุสองชิ้นเข้าด้วยกัน กาวมีอยู่หลากหลายรูปแบบทั้งมาจากธรรมชาติหรือสารเคมีสังเคราะห์ ซึ่งการใช้งานมักจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่จะนำมาติดกัน
กาวนิยมใช้ติดวัสดุที่มีลักษณะบาง หรือวัสดุที่แตกต่างกัน[3] โดยกาวจะแตกต่างจากการเชื่อมวัสดุแบบอื่นคือ กาวจะใช้เวลาในการประสาน โดยกาว จะมีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับการใช้งานที่แตกต่างกัน
8.     สายไฟฟ้า
     
                                      รูปภาพที่ 8 สายไฟฟ้า

      
 สายไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งพลังงานไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยกระแสไฟฟ้าจะ เป็นตัวนำพลังงานไฟฟ้าผ่านไปตามสายไฟจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟทำด้วยสารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ เรียกว่าตัวนำไฟฟ้า และตัวนำไฟฟ้าที่ใช้ทำสายไฟเป็นโลหะที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ดี ลวดตัวนำแต่ละชนิดยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ต่างกัน ตัวนำไฟฟ้าที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้มากเรียกว่ามีความนำไฟฟ้ามากหรือมีความต้านทานไฟฟ้าน้อย ลวดตัวนำจะมีความต้านทานไฟฟ้าอยู่ด้วย โดยลวดตัวนำที่มีความต้านทานไฟฟ้ามากจะยอม ให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อย

















บทที่ 3
วิธีการจัดทำโครงงาน
1. วัสดุ/ อุปกรณ์ในการทำโคมไฟกะลา (1 ชิ้นงาน)
1.กะลามะพร้าว          2-3     ลูก
2.ไม้ไผ่                      1         ไม้
3.หลอดไฟ                 1         หลอด           
4.สายไฟ        
5.สวิตซ์+ปลั๊กไฟ
6.แลคเกอร์ (สำหรับเคลือบเงา)              1       ขวด
7.กระดาษทราย                             2-3     แผ่น
8.กาวร้อน                                     1     หลอด
9.เลื่อยฉลุ/ใบเลื่อย                 
10.สว่านเจาะ
11.ดินสอ / วงเวียน      
12.เชือกตกแต่ง  (ตามที่ต้องการ)
      
2.  ขั้นตอนการทำ
1.      เลือกขนาดของกะลามะพร้าวให้พอเหมาะ
2.      นำกะลามะพร้าวมาวาดให้เป็นลวดลายตามที่ต้องการ จากนั้นนำมาเจาะรูตามที่ร่างแบบไว้
3.      นำกะลามาขัดด้วยกระดาษทราย ให้กะลามีผิวเรียบที่สุด
4.      นำกะลาที่เจาะรูเรียบร้อยแล้วมาเคลือบเงาแลคเกอร์ ให้มีความมันวาว
5.      นำหลอดไฟมาประกอบเข้ากับกะลามะพร้าว
6.      นำแผงมาประกอบเข้ากับสายไฟ
7.      นำอุปกรณ์ทุกอย่างมาประกอบให้เข้ากัน และตกแต่งด้วยเชือก จากนั้นจะได้โคมที่สวยงาม

                                      รูปที่ 8 โคมไฟกะลา

บทที่ 4
ผลการศึกษา
จากการทำโครงงานโคมไฟกะลา ผู้จัดทำโครงงานได้รับความรู้และประสบผลสำเร็จขั้นตอนในการทำโคมไฟกะลา มีประสบการณ์ในการทาผลติภัณฑ์โคมไฟกะลาได้ สามารถนาสิ่งของเหลือใช้มาทาให้เกิดมูลค่า ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มีรายได้
          จากการทำโครงงานโคมไฟกะลามะพร้าว  ผู้จัดทำโครงการได้รับความรู้และประสบผลสำเร็จดังนี้
1. รู้จักขั้นตอนในการทำโคมไฟกะลา
2. มีประสบการณ์ในการทำผลิตภัณฑ์โคมไฟกะลาได้
3. สามารถนำสิ่งของเหลือใช้มาทำให้เกิดมูลค่า
4. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5. มีรายได้เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน
6. มีประสบการณ์ด้านการขาย และการทำงานร่วมกัน











บทที่5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
สรุป
จากการทำโครงงานโคมไฟกะลามะพร้าว  ผู้จัดทำโครงการได้รับความรู้และประสบ ผลสำเร็จดังนี้
1. รู้จักขั้นตอนในการทำโคมไฟกะลา
2. มีประสบการณ์ในการทำผลิตภัณฑ์โคมไฟกะลาได้
3. สามารถนำสิ่งของเหลือใช้มาทำให้เกิดมูลค่า
4. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
5. มีรายได้เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน
6. มีประสบการณ์ด้านการขาย และการทำบัญชี

ประโยชน์ที่ได้รับ
1 ได้โคมไฟที่ประหยัดพลังงาน และได้ใช้จ่ายอย่างประหยัด
2 นำวัสดุเหลือใช้มาเพิ่มมูลค่าและเพิ่มมูลค่าของวัสดุที่มีในท้องถิ่น
3 ฝึกประสบการณ์ในการทำงานของนักศึกษา และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ข้อเสนอแนะ                       
1. ต้องต่อวงจรให้ถูกต้องเพื่อป้องกันการลัดวงจรอาจทำให้อุปกรณ์เสียหายได้
2. ควรระมัดระวังในการใช้เครื่องมือเครื่องช่างต่างๆ
3. ในการเลือกใช้วัสดุควรเลือกวัสดุที่เหมาะสมกับสิ่งประดิษฐ์ที่จะทำ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น